“สิทธิยับยั้ง (Veto)” หมายถึง การปฏิเสธคำวินิจฉัยหรือข้อเสนอทางกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ถ้าระบบที่ใช้ในปัจจุบันไม่สามารถควบคุมส่วนผสมที่มีกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้ Vira จึงเขียนพันธสัญญาเพื่อยกมาตรฐานความปลอดภัย ความยั่งยืน และความโปร่งใสของเรา

ผลิตภัณฑ์ที่ Vira นำเข้ามา *ไม่มี* ส่วนประกอบดังต่อไปนี้ เราเชื่อในการพูดความจริง และเชื่อในสิทธิที่จะรับรู้ว่า คุณสวมใส่หรือรับสารใดเข้าสู่ร่างกายบ้าง เราจึงกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสตรีในประเทศไทย เพื่อให้คุณรู้สึกโล่งใจ ทั้งในวันนี้ และในอนาคต

เป็นที่ทราบกันดีว่า สารกันเสียทั่วไปทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้หากมีความเข้มข้นสูง สารกันเสีย BAK อาจเป็นอันตรายต่อตัวอ่อนระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงไม่ควรนำมาใช้บริเวณเนื้อเยื่อเมือกหรือช่องคลอด¹

พบใน: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง ถุงยางอนามัย และผลิตภัณฑ์หล่อลื่น

ประกอบด้วยสารไซโคลเตตราซิลอกเซน (D4), ไซโคลเพนตะซิลอกเซน (D5), ไซโคลเฮกซาซิลอกเซน (D6), และ ไซโคลเมทิโคน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้แชมพูช่วยให้ผม ‘นุ่มลื่นและเงางาม’ รวมถึงใช้เพิ่มความ ‘ลื่น’ ในผลิตภัณฑ์ดูแลจุดซ่อนเร้น ไซคลิกซิลิโคนอาจก่ออันตรายต่อระบบสืบพันธุ์ รบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ และเป็นพิษต่อระบบนิเวศ² นอกจากนี้ยังอยู่ภายใต้การควบคุมในทวีปยุโรปและประเทศแคนาดา เนื่องจากเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากการปนเปื้อนในทางน้ำและห่วงโซ่อาหารของเรา³

พบใน: ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นที่มีส่วนผสมของซิลิโคน แชมพู และครีมนวดผม

สารปนเปื้อนที่พบในผ้าอนามัยแบบแผ่นและแบบสอด เชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็ง รบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ และเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์

พบใน: ผ้าอนามัยแบบแผ่นและแบบสอด

ส่วนผสมที่ปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) อาจก่อให้เกิดผื่นแพ้ (allergic rash) หรือผื่นแพ้อักเสบ (eczema) แม้โดยทั่วไป ฟอร์มาลดีไฮด์จะไม่ได้ถูกจัดเป็นส่วนผสม แต่มักมีการระบุ “ตัวปล่อย” สารประกอบฟอร์มาลดีไฮด์ไว้บนฉลาก โดยส่วนผสมที่มักพบว่าปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ ประกอบไปด้วยดีเอ็ม ดีเอ็ม ไฮเดนทิน, ไดอะโซลิดินิล และ ควอเตอร์เนียม-15

พบใน: น้ำยาทาเล็บ กาวติดขนตา สบู่ประเภทต่างๆ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย

ผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่เราใช้โดยทั่วไปมีส่วนผสมของ tมของสารเคมีที่เป็นพิษอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีสารก่อภูมิแพ้ สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ และอื่นๆ

น่าเสียดายที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้บริษัทต่างๆ แจ้งข้อมูลส่วนผสมของน้ำหอม และไม่มีการทดสอบผลกระทบที่อาจเกิดกับสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ Vira อนุญาตให้ใช้น้ำมันหอมระเหย และกลิ่นหอมจากธรรมชาติในผลิตภัณฑ์ของเราได้ แต่สำหรับผลิตภัณฑ์สำหรับจุดซ่อนเร้น เราแนะนำให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์แบบไม่มีกลิ่นเสมอ

สารกันเสียรสหวานจำพวกน้ำตาลแอลกอฮอล์ มักถูกใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและถุงยางที่มีรสชาติแม้จะไม่เหมาะจะใช้กับจุดซ่อนเร้น เพราะอาจก่อให้เกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรีย (bacterial vaginosis) ทำให้กรดและด่างในช่องคลอดไม่สมดุล และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (หากใช้ร่วมกับถุงยางอนามัย)

พบใน: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง ผลิตภัณฑ์หล่อลื่น ถุงยางอนามัย และมอยส์เจอไรเซอร์

สารกันเสียที่พบในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกายแบบเหลวจำนวนมาก เชื่อมโยงกับการเกิดพิษต่อปอด และอาการแพ้⁷

พบใน: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย แชมพูเด็ก และสบู่อาบน้ำ

สารประกอบทางเคมีประเภทอิมัลซิไฟเออร์ที่พบมากในผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและถุงยางอนามัย อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ค่าความเป็นกรดด่างไม่สมดุล โอกาสเกิดพิษต่อระบบสืบพันธุ์ และ/หรือปนเปื้อนมากับ 1,4-ไดออกเซน และเอธีลีนออกไซด์

พบใน: ผลิตภัณฑ์หล่อลื่น ถุงยางอนามัย และทิชชูเปียก

สารกันเสียที่จะรวมตัวกับตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน จนรบกวนการทำงานโดยปกติของฮอร์โมน เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเต้านม รวมถึงมีผลร้ายต่อระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต เรามีความระมัดระวัง และไม่อนุญาตให้นำพาราเบนทุกประเภทมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นบูทิลพาราเบน ไอโซโพรพิลพาราเบน หรือเมทิลพาราเบน

พบใน: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง และผลิตภัณฑ์หล่อลื่น

สารประกอบกว่า 3000 ชนิดที่มี PFAS ถูกใช้ในผลิตภัณฑ์หลายประเภท เพื่อเพิ่มคุณสมบัติกันน้ำมัน กันคราบ และกันน้ำ สารประกอบเหล่านี้ไม่ย่อยสลายในสิ่งแวดล้อม และอาจนำมาสู่ปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะก่อมะเร็งเต้านม¹⁰ รบกวนการทำงานของฮอร์โมน¹¹ เป็นพิษต่อตับ¹² และนำมาสู่โรคอ้วน¹³ เราแนะนำให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีคำว่า “perfluor” หรือ “polyfluor” เป็นส่วนประกอบ

พบใน: ไหมขัดฟัน น้ำยาทาเล็บ มอยส์เจอไรเซอร์ และเครื่องสำอางสำหรับดวงตา

ส่วนผสมเหล่านี้มักมีที่มาที่ไม่ยั่งยืน อาจมีการปนเปื้อนของสารประกอบ PAH ซึ่งเกี่ยวพันกับการเกิดโรคมะเร็ง และอาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลของกรดและด่าง (ภายในช่องคลอด) รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หากใช้ใกล้หรือภายในจุดซ่อนเร้น นอกจากนี้ ยังสามารถทำให้ถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพาราฉีกขาดได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันแร่เป็นส่วนผสม อาทิ วาสลีน และเบบี้ออยล์จอห์นสัน ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์¹⁴

พบใน: เบบี้ออยล์ และผลิตภัณฑ์หล่อลื่นที่มีส่วนผสมของน้ำมัน

สารเคมีเพิ่มคุณสมบัติพลาสติก (plasticizing chemical) ที่มีส่วนรบกวนการทำงานของฮอร์โมน และอาจเชื่อมโยงกับความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ สร้างปัญหาต่อภาวะเจริญพันธุ์ และทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ผลิตภัณฑ์บางตัวระบุบนฉลากว่ามีสารทาเลตเป็นส่วนผสม แต่ยังมีผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่ปิดบังโดยใช้คำว่า “น้ำหอม” แทน

พบใน: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง ทิชชูเปียก ผลิตภัณฑ์หล่อลื่น มอยส์เจอไรเซอร์ และเซ็กซ์ทอย

สารโพลีเอธีลีนไกลคอล (PEG) คือตัวทำละลายที่ได้จากปิโตรเลียม ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และมอยส์เจอไรเซอร์ PEG เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้นำความชื้นเข้าสู่ผิว และช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความเสถียร แต่อาจปนเปื้อนมากับเอธีลีนออกไซด์ และ 1,4-ไดออกเซน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง¹⁵

จากการศึกษาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกายและผิวหน้าที่ทำการตลาดโดยใช้คำว่า “จากธรรมชาติ” หรือ “ออร์แกนิก” (ที่ยังไม่ได้รับการรับรอง) นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบสารปนเปื้อน 1,4-ไดออกเซนในผลิตภัณฑ์ 46 รายการ จากทั้งหมด 100 รายการที่ถูกนำมาวิเคราะห์¹⁶ จึงเป็นการดีที่สุดที่เราจะยับยั้งการนำสาร PEG มาผสมในผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของเรา

พบใน: ครีมต่างๆ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง และครีมกันแดด

สารฆ่าเชื้อที่พบได้ทั่วไป อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity) และนำไปสู่การดื้อยาของเชื้อโรค¹⁷

พบใน: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และทิชชูเปียก

สารเคมีสำหรับทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพเกินหน้าที่ สาร SLS ชะล้างผิวเกินจำเป็น และดูดน้ำออกจากชั้นผิว ส่งผลให้ผิวเกิดการระคายเคืองหรือแพ้ ส่วนสาร SLES มักมีสารเคมี 1,4–ไดออกเซน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการปิโตรเคมีที่เรียกว่า การลดแรงตึงผิว (ethoxylation) เจือปนอยู่

พบใน: ผลิตภัณฑ์สบู่ทําฟองทั้งหลาย เช่น สบู่อาบน้ำ Bath Bomb แชมพู และยาสีฟัน

แม้สีย้อมจะสร้างสรรค์สีสันที่สวยงาม แต่เราควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมสีสังเคราะห์บริเวณเนื้อเยื่อเมือกหรือช่องคลอด เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้

พบใน: ผ้าอนามัยแบบแผ่นและแบบสอด และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง

ทัลก์ หรือ แร่หินสบู่ ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทแป้งจำนวนมาก เช่น อายแชโดว์ และแป้งเย็น ทัลก์อาจทำให้เกิดผลเสียสองประการ ได้แก่ ความเสี่ยงจากการปนเปื้อนแร่ใยหิน และความเสี่ยงที่อนุภาคขนาดเล็กที่มีทัลก์ผสมอยู่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดดมหรือทางอวัยวะสืบพันธุ์ ทั้งนี้ ข้อมูลจากการศึกษา 16 ชิ้น แสดงให้เห็นว่า หากใช้ทัลก์บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ถึง 30% และการศึกษาเพิ่มเติมเสนอว่า ทัลก์อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีวัยหมดประจำเดือน¹⁸

Vira ได้ขอให้บริษัทต่างๆ ที่ใช้ทัลก์ผสมในเครื่องสำอาง ขอรับเอกสารกำกับที่แสดงว่าทัลก์ที่พวกเขาซื้อได้ผ่านการทดสอบหาแร่ใยหินแล้ว

ส่วนผสมเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกายและผิวหน้า รวมถึงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน เพื่อยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย เป็นสารที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และอาจรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งรวมถึงฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ระหว่างที่อวัยวะของเด็กกำลังพัฒนา ผลกระทบนี้นำมาซึ่งอันตรายเป็นอย่างมาก จนในปี 2017 องค์การ US FDA สั่งห้ามไม่ให้ใช้สาร 2 ตัวนี้ในสบู่ชนิดต่างๆ¹⁹ Vira ไม่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีไตรโคลซาน และไตรโคลคาร์บานเป็นส่วนผสมเช่นกัน โดยเฉพาะระหว่างการตั้งครรภ์

พบใน: สบู่อาบน้ำ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเซ็กซ์ทอย ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และครีมต่างๆ


หมายเหตุ: บัญชีนี้จะถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามการวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ความยั่งยืน และความโปร่งใสเป็นสิ่งที่ไม่ง่าย แต่ย่อมคุ้มค่าความพยายาม

 

อ้างอิง:

  1. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/4078221/
  2. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0013935118301518
  3. https://ec.europa.eu/health/ph_risk/committees/04_sccp/docs/sccp_o_035.pdf
  4. https://dermnetnz.org/topics/formaldehyde-allergy/
  5. https://www.ewg.org/sites/default/files/report/SafeCosmetics_FragranceRpt.pdf
  6. https://www.reuters.com/article/us-vaginal-products-idUSBRE92J14F20130320
  7. https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/1091581810374651
  8. https://www.ewg.org/skindeep/ingredients/704208-OCTOXYNOL9-OCTOXYNOL9-OCTOXYNOL9-OCTOXYNOL9-OCTOXYNOL9/
  9. https://www.ewg.org/what-are-parabens
  10. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3203030/
  11. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23764977/
  12. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4977053/
  13. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7723340/
  14. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2535978/
  15. https://davidsuzuki.org/queen-of-green/dirty-dozen-peg-compounds-contaminants/
  16. http://www.organicconsumers.org/bodycare/DioxaneRelease08.cfm
  17. https://www.mountsinai.org/files/MSHealth/Assets/HS/Patient-Care/Service-Areas/Occupational-Medicine/QACsInfoforWorkers_18.pdf
  18. https://cebp.aacrjournals.org/content/19/5/1269
  19. https://www.whattoexpect.com/pregnancy/avoid-unsafe-antibiotics/